ตัวชี้วัดที่ 21 |
พิจารณาจากผลการให้บริการด้านทันตกกรรม ร่วมกันใน 2 มุมมอง คือ
1. อัตราการใช้บริการทางทันตกรรม ต่อ 1,000 ประชากร
2. สัดส่วนการให้บริการทันตสาธารณสุข |
เกณฑ์ |
ผ่านเกณฑ์ 3 คะแนน
|
ผลงาน |
|
รายการข้อมูล |
1.จำนวนครั้งการให้บริการทันตกรรมสิทธิ UC
2. จำนวนครั้งการให้บริการงานส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกัน |
นิยาม |
1. อัตราการใช้บริการทันตกรรม ต่อ 1,000 ประชากร
เป็นการประเมินปริมาณการให้บริการของหน่วยบริการ และการเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมของประชากรUC
2. สัดส่วนการให้บริการทันตสาธารณสุข
เป็นการประเมินถึงสัดส่วนการให้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกัน เทียบกับการให้บริการทางด้าน การรักษา ทางทันตกรรม ซึ่งต้องการให้เกิดการเน้นหนักการจัดบริการส่งเสริมป้องกันอย่างเป็นระบบ ทั้งในสถานบริการ ทุกระดับและการให้บริการเชิงรุกในชุมชน เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขได้ |
วิธีรายงาน |
- เก็บข้อมูลจากโปรแกรม HOSXP รายงานการเข้ามารับบริการทันตกรรมปีละ 2ครั้ง
|
แหล่งข้อมูล |
- โปรแกรม HOSXP รายงานการเข้ามารับบริการทันตกรรม
- จาก OPD card สมุดบันทึกการมารับบริการทันตกรรม หรือบันทึกการออกหน่วยทันตกรรม |
ประชากรเป้าหมาย |
|
1. รายการข้อมูล |
1.จำนวนประชากร UC ในพี้นที่รับผิดชอบ
2.จำนวนครั้งการให้บริการงานรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน |
2. นิยาม |
1. ข้อมูลงานส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกัน หมายถึง การให้บริการในกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม
และ 5 ประเภทงาน ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่
1) หญิงตั้งครรภ์ หมายถึง หญิงตั้งครรภ์ที่มาใช้บริการส่งเสริมทันตสุขภาพทันตกรรมป้องกัน
2) เด็กอายุ 0-2 ปี หมายถึง เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี 11 เดือน 29 วัน
3) เด็กอายุ 3-5 ปี หมายถึง เด็กอายุ 3 ปีบริบูรณ์ ถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน
4) เด็กอายุ 6-14 ปี หมายถึง เด็กอายุ 6 ปีบริบูรณ์ ถึงอายุ 14 ปี 11 เดือน 29 วัน
ประเภทงาน 5 ประเภท ได้แก่
1) ตรวจสุขภาพช่องปาก (ครั้ง) หมายถึง การตรวจวินิจฉัยสภาพในช่องปากทั้งปาก แนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้โภชนาการที่ถูกต้องตามวัย และลงบันทึกประวัติ
2) Sealant (ครั้ง) หมายถึง การเคลือบหลุมร่องฟัน ในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี
3) ฟลูออไรด์ (ครั้ง) หมายถึง การเคลือบฟันทั้งปากด้วยสารฟลูออไรด์ (ทั้ง varnish และ gel) ในทุกกลุ่มเป้าหมายข้างต้น
4) PRR (ครั้ง) หมายถึง การทำ Preventive Resin Restoration ในกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี
5) ทำความสะอาดช่องปาก (prophylaxis) (ครั้ง) หมายถึง การขัดฟันทั้งปาก และ/หรือ การใช้เส้นไหมขัดฟัน(Flossing) ในผู้มารับบริการ เป็นการทำความสะอาดฟันเพื่อขจัดแผ่นคราบฟัน(plaque) ไม่รวม polishing ภายหลังการขูดหินปูน
2. ข้อมูลงานรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน หมายถึง การให้บริการใน 3 ประเภทงาน ดังนี้
1) ถอนฟัน (ครั้ง) หมายถึง การถอนฟันแท้หรือฟันน้ำนมโดยปกติทั่วไป การถอนฟันที่ยากหรือมีปัญหา การถอนฟันที่ต้องใช้เครื่องกรอตัดกระดูก หรือการตัดแบ่งรากฟัน
2) อุดฟัน (ครั้ง) หมายถึง งานบูรณะฟันในลักษณะ class I, II, III, IV, V ด้วยวัสดุอุดฟันทุกชนิดรวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษต่าง ๆ เช่น การปัก pin, การทำ amalgam bonding เป็นต้น
3) ขูดหินปูนทั้งปาก (ครั้ง) หมายถึง งานขูดหินน้ำลาย และการขัดทำความสะอาดฟัน
- ครั้ง หมายถึง จำนวนครั้งของผู้รับบริการด้านทันตสุขภาพในแต่ละประเภทงานที่ทำ
- ข้อมูลบริการทุกประเภท ให้นับรวมบริการทั้งในหน่วยบริการ ในโรงเรียน และในชุมชนโดยต้องมีบันทึกผลงานบริการที่สามารถตรวจสอบได้จากแหล่งใด แหล่งหนึ่ง เช่น OPD card , สมุดสุขภาพนักเรียน (สมุดเหลือง) ทั้งนี้ ห้ามนับซ้ำข้อมูลบริการที่เกิดจากบริการในครั้งเดียวกันที่อาจมีบันทึกผลงานมากกว่า 1 แห่ง
- ข้อมูลที่ใช้ประเมินจะกรองเฉพาะข้อมูลที่ผ่านการตรวจคุณภาพข้อมูลจากสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ หรือจากการสุ่มตรวจจากค่าที่ผิดปกติ แล้วเท่านั้น |
3. วิธีรายงาน |
รายงานตามแบบรายงานทันตกรรม
|
4. แหล่งข้อมูล |
OPD card , สมุดสุขภาพนักเรียน (สมุดเหลือง) สมุดบันทึกการให้การรักษาทางทันตกรรม
|
2.สัดส่วนการให้บริการทันตสาธารณสุข = |
จำนวนครั้งการให้บริการงานส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกัน |
จำนวนครั้งการให้บริการงานรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน |
ตัวตั้ง = ผลรวมของจำนวนครั้งการให้บริการงานส่งเสริมทันตสุขภาพและทันตกรรมป้องกันของประชากรสิทธิUC ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยทันตแพทย์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ผ่านการฝึกอบรม ของหน่วยบริการประจำ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งให้บริการ
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง มีนาคม 2553
ตัวหาร = ผลรวมของจำนวนครั้งการให้บริการงานรักษาทางทันตกรรมพื้นฐาน ของหน่วยบริการในช่วงเวลาเดียวกัน |
เกณฑ์การให้คะแนน วิธีการ นำผลการคำนวณจากข้อ1 และ ข้อ 2 มาพิจารณาหาคะแนนตามตาราง
ตารางการให้คะแนนเกณฑ์เข้าถึงบริการทันตกรรมและงานทันตสาธารณสุขที่จำเป็น |
สัดส่วนการให้บริการทางงานทันตสาธารณสุข |
< mean +0.5SD |
= mean +0.5SD |
> mean +0.5SD |
อัตราการใช้บริการทันตกรรมต่อ 1000 ประชากร |
> mean +0.5SD |
3 คะแนน |
4 คะแนน |
5 คะแนน |
= mean +0.5SD |
2 คะแนน |
3 คะแนน |
4 คะแนน |
< mean +0.5SD |
1 คะแนน |
2 คะแนน |
3 คะแนน |
กรณีข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งเป็น 0 จะได้คะแนนเป็น 0 |
ชื่อ – สกุล ผู้รับผิดชอบ นางสาวเกศรินทร์ พรมรักษ์ |
ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข |
ชื่อ – สกุล : ผู้ดูแลตัวชี้วัด นายประสิทธิ์ วงค์สุภา |
ตำแหน่ง : ทันตแพทย์ปฏิบัติการ |
กลุ่มงานCluster : นายฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยา |
ตำแหน่ง : นายแพทย์ปฏิบัติการ |
จัดทำโดย |
นายประสิทธิ์ วงค์สุภา |
ลายมือชื่อ |
ตรวจสอบโดย |
หัวหน้ากลุ่มงาน |
ลายมือชื่อ |
รับรองโดย |
หัวหน้ากลุ่มภารกิจ(Cluster) |
ลายมือชื่อ |
อนุมัติโดย |
นพ.ฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยา |
ลายมือชื่อ |