ต่อมทอนซิลเป็น กลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง
มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิ คุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด บางชนิดสามารถดักจับเชื้อโรค ด้วยตัวของมันเองได้โดยตรง และบางชนิดต้องเสริมภูมิคุ้นกันก่อนจึงส่ง ออกไปกำจัดเชื้อโรคอีกที ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่งต่อมที่เราเห็นจะอยู่ด้านข้างของช่องปาก มีชื่อเรียกว่า "พาลาทีนทอนซิล" นอกจากนี้ ต่อมทอนซิลยังพบได้บริเวณโคนลิ้นและช่องหลังโพรงจมูกอีกด้วย ในผู้ป่วยที่ต้องตัดต่อมทอนซิลจะไม่มีผลกระทบถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะมีอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่
ทำหน้าที่แทนได้
ทอนซิลอักเสบ (tonsillitis) เป็นภาวะอักเสบของต่อม ทอนซิล ส่วนคออักเสบ (pharyngitis) หมายถึง ภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดขึ้น พร้อมกันได้ บางครั้งอาจเกิดเพียงทอนซิลอักเสบหรือคออักเสบอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเมื่อพูดว่าต่อมทอนซิลอักเสบ จะหมายความถึงการอักเสบของต่อมทอนซิลซึ่งโดยมากเป็นทั้งสองข้าง และมักมีอาการอักเสบของหลอดคอหอยร่วมด้วย ต่อมทอนซิลอักเสบแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง
สาเหตุ
ต่อมทอนซิล อักเสบเฉียบพลัน อาจเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เด็กก่อนวัยเรียนมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส และติดต่อกันได้ง่าย เพราะไม่รู้จักวิธีป้องกันการติดต่อของโรค สำหรับในเด็กโตและผู้ใหญ่ มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันกับที่ทำให้เป็นโรคหวัด หรือเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบหายใจตอนบน
- เชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุด คือ rhinovirus และ coronavirus ซึ่งอาการมักไม่รุนแรง ส่วนเชื้อ adenovirus และ herpes simplex virus พบว่าเป็นสาเหตุได้ไม่บ่อย แต่มีความสำคัญเพราะมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกอาจมีอาการคออักเสบและทอนซิลอักเสบได้
- เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ โรคพบได้หลายชนิด ร้อยละ 15 เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส S. pyogenes ส่วน group C และ G อาจเกิดการระบาดโดยปนเปื้อนในอาหารได้
อาการ
ผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบ พลัน จะมี อาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ โดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร หรือน้ำลาย จะเจ็บมาก พยาธิสภาพของโรคนี้ พบการบวมแดงของต่อมทอนซิลและเยื่อบุคอหอย อาจพบหนองได้
ในกรณที่เกิดจาก การติดเชื้อสเต็ปโตค็อคคัส จะพบการอักเสบรุนแรงกระจายทั่วไป ลิ้นไก่แดงมาก และพบหนอง
สีเทาเหลืองที่บริเวณทอนซิลได้บ่อย
การวินิจฉัย
โรคนี้ สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ การตรวจร่างกายโดยละเอียด การแยกให้ได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสหรือจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่
การ ตรวจร่างกายอย่างเดียวมักไม่สามารถบอกสาเหตุได้ การตรวจพบหนองที่
ต่อม ทอนซิล หรือคอหอย มักเกิดจากการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส group A, C, G เชื้อแบคทีเรียชนิดไม่พึ่งออกซิเจน adenovirus และ herpes simplex virus ถ้าพบว่ามีผื่นแดงที่ผิวหนัง ควรนึกถึงการติดเชื้อ S. pyogenes และ Epstein Barr virus ส่วนในรายที่มีอาการตาอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อ adenovirus และ enterovirus บางชนิด
การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อสเตร็ปโต ค็อคคัส จาก ตัวอย่างที่ป้ายจากคอหอยและทอนซิล เป็นวิธีที่ให้ผลอย่างรวดเร็ว มีความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 90 แต่มีความไวอยู่ระหว่าง 60-95 การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ
สเตร็ปโตค็อคคัส ถ้าให้ผลบวกสามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส แต่ถ้าให้ผลลบ ควรเพาะเชื้อลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีเลือดแกะเพื่อยืนยัน การเพาะเชื้อจากคอหอยและทอนซิลมีประโยชน์ ช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพโดยไม่จำเป็นลงได้มาก
ผลแทรกซ้อน
ผลแทรกซ้อน ของต่อมทอนซิลอักเสบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- ฝีรอบต่อมทอนซิล ข้างคอหอย ผนังคอหอย ต่อมน้ำเหลืองที่คอ
- หินปูนในทอนซิล
- ไข้รูห์มาติก
- เยื่อบุหัวใจอักเสบ
- ไตอักเสบ
การรักษา
ในส่วนของการรักษาโรคต่อมทอนซิล อักเสบเฉียบพลันนั้น ปกติแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น
ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือลดไข้ และให้การรักษาเฉพาะ เช่น การให้ยาต้านจุลชีพเพื่อกำจัดเชื้อต้นเหตุ ถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม หากแพทย์พิจารณาว่าสาเหตุมาจากไวรัส ก็จะให้ยาตามอาการเท่านั้น เพราะยาต้านจุลชีพไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ในรายที่มีอาการมากๆ เช่น เจ็บคอมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ และมีไข้สูงแพทย์จะแนะนำให้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและ
ยา ต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้อาการทุเลาดีขึ้นเร็วกว่าการให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน
ถ้าผู้ป่วย ไม่ได้รับการรักษาทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบของ
ต่อมทอนซิลอาจจะ กระจายกว้างออกไปจนเกิดเป็นหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล แล้วอาจลุกลามผ่านช่องคอเข้าสู่ช่องปอดและหัวใจได้ นอกจากนั้น เชื้อแบคทีเรียอาจเข้ากระแสเลือดแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งนับเป็นภาวะที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันบ่อยๆ ต่อมทอนซิลจะโตขึ้น แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นแบบเรื้อรัง และอาจมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันได้ การที่ต่อมทอนซิลโตจะทำให้เกิดร่องหรือซอกซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปตกค้างอยู่ ได้ อาจทำให้เกิดการอักเสบยืดเยื้อออกไป
การผ่าตัด
- โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาตัดต่อม ทอนซิลก็ต่อเมื่อ
- เป็นภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาไม่ ได้ผล หรือเกิดการอักเสบ ปีละหลาย ครั้ง หลายปีติดต่อกัน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เช่นต้องขาดงาน หรือขาดเรียนบ่อย
- เมื่อต่อมทอนซิลโตมากๆ ทำให้เกิดอาการนอนกรน และ/ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลโต และแพทย์สงสัยว่า อาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิลโดยตรง หรือมีมะเร็ง ที่ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แล้วหาตำแหน่งมะเร็งต้นเหตุไม่เจอ แต่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมทอนซิล
- การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันของ ร่างกาย หรือของช่องปากลดลงแต่อย่างใด
- ผลแทรกซ้อนของการตัดทอนซิลที่อาจ เกิดขึ้น ได้แก่
- เลือดออกมาก
- ทางเดินหายใจอุดตัน
- เสียงเปลี่ยน กลืนลำบาก
- โรคแทรกซ้อนของยาสลบหรือยาชา
- อาจเสียชีวิตได้
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูล สุขภาพกรุงเทพ ขอขอบคุณเนื้อหาจาก bangkokhealth.com |