รายละเอียดตัวชี้วัดหน่วยงาน
ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดน่าน

 
               
  กลับหน้าหลัก            
               
 

1. ประเด็นยุทธศาสตร์

 ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร

2. เป้าประสงค์

  มีระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารที่มีประสิทธิภาพ

3. ชื่อตัวชี้วัด

 ความสำเร็จของการดำเนินงานเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร

4. เกณฑ์

 ระดับ 3

5. ผลงาน

 

    5.1  รายการข้อมูล

จำนวนตัวอย่างอาหารสดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสารปนเปื้อน 6  ชนิด

    5.2  นิยาม

ตัวอย่างอาหารสดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสารปนเปื้อน 6  ชนิด หมายถึง  ตัวอย่างอาหารที่ผ่าน
การสุ่มตรวจวิเคราะห์แล้วไม่พบสารปนเปื้อน ได้แก่  สารบอแรกซ์  สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์  กรดซาลิซิลิค สารฟอมาลดีไฮด์ และพบในปริมาณที่ไม่เกินกำหนด ได้แก่ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร (ไม่เกินร้อยละ25ของน้ำหนัก) และสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต

    5.3  วิธีรายงาน

ทุก 6 เดือน

    5.4  แหล่งข้อมูล

บันทึกรายงานผลการตรวจสารปนเปื้อน

6. ประชากรเป้าหมาย

 

     6.1 รายการข้อมูล

จำนวนตัวอย่างอาหารสดเป้าหมายทั้งหมด

     6.2 นิยาม

จำนวนตัวอย่างอาหารสดเป้าหมายทั้งหมด   หมายถึง  ตัวอย่างอาหารที่สุ่มตรวจทั้งหมด ซึ่ง
เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด  ได้แก่  สารบอแรกซ์  สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์  กรดซาลิซิลิค สารฟอมาลดีไฮด์  สารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร และสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต

     6.3 วิธีรายงาน

บันทึกรายงานผลการตรวจสารปนเปื้อน

     6.3 แหล่งข้อมูล

บันทึกรายงานผลการตรวจสารปนเปื้อน

7. การประมวลผลตัวชี้วัด
               กำหนดเป็นระดับขั้นความสำเร็จ เกณฑ์การให้คะแนนมี  5  ระดับพิจารณาตามความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงาน

8. เกณฑ์การให้คะแนน

คะแนน

1

2

3

4

5

 

ผลงาน

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

ระดับ 4

ระดับ 5

ข้อ 1 จัดทำแผนการตรวจวิเคราะห์และเก็บตัวอย่างอาหาร
ข้อ  2  มีผลการตรวจสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์  สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์  กรดซาลิซิลิค สารฟอมาลดีไฮด์  สารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร และสารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต
ข้อ 3  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ข้อ 4  ผลการตรวจวิเคราะห์ช่วง 6 เดือนแรกผ่านเกณฑ์ไม ่น้อยกว่าร้อยละ 80 และช่วง 6 เดือนหลัง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
ข้อ 5 สรุปผลการดำเนินงาน(ระบุปัญหาอุปสรรค/ ข้อเสนอแนะ)

นิยาม
ของผลงาน

ผ่านเกณฑ์ ข้อ 1

ผ่านเกณฑ์ ข้อ 1
และ
ข้อ 2

ผ่านเกณฑ์ ข้อ 1
ข้อ 2
และ
 ข้อ 3

ผ่านเกณฑ์ ข้อ 1
ข้อ 2
ข้อ 3
และ
ข้อ 4

ผ่านเกณฑ์
ข้อ 1
ข้อ 2
ข้อ 3
ข้อ 4
และ
ข้อ5

9. ผู้รับผิดชอบ                 1. นางสุวภัทร  กล่อมสกุล
                                            2. นายอัครพนธ์  อินไชย
                                            3. นางสาวกาญจนา  ยะแสง

ตำแหน่ง :  เภสัชกรปฏิบัติการ
ตำแหน่ง :  เจ้าพนักงานเภสัชกรรม
ตำแหน่ง :  เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

10. ผู้ดูแลตัวชี้วัด :  นางสุวภัทร  กล่อมสกุล

ตำแหน่ง :  เภสัชกรปฏิบัติการ

11. กลุ่มงาน Cluster :   นายฬุจิศักดิ์  วรเดชวิทยา

ตำแหน่ง :  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ

 
               
  กลับหน้าหลัก          
               
:: Copyright ©2010 โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน เบอร์โทรศัพท์ 054-693548 โทรสาร 054-693549 ::